ผีเสื้อ - การป้องกันภัยต่างๆ

on วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

         ผีเสื้อก็เป็นแค่แมลงตัวเล็กๆเท่านั้น โอกาศที่จะถูกกิน หรือตกเป็นเหยื่อของสัตว์ชนิดอื่นๆที่ตัวใหญ่กว่ามีอยู่มาก ซึ่งในช่วงอันตรายที่สุดของผีเสื้อนั้นคือช่วงที่เป็นตัวหนอน เพราะตัวหนอนนั้น เคลื่อนที่ได้ช้ามากโอกาสที่จะเติบโตจนเป็นผีเสื้อนั้น ต้องใช้ความเสี่ยงมากกว่าจะเป็นผีเสื้อที่สวยให้คนเราได้ยลโฉมกันอย่างที่เห็น ตัวอย่างการป้องกันตัวของผีเสื้อคือ จะออกหากินตอนมืดๆเพื่อให้รอดพ้นจากนกต่างๆที่หากินตอนกลางวัน และมีผีเสื้อบางชนิดที่ปรับตัวให้ปีกมีสีมืดๆ ซึ่งผีเสื้อบางชนิด ปรับตัวซะเหมือนผีเสื้อกลางคืนไปเลยก็มี


เช่น ผีเสื้อสายัณห์ ผีเสื้อป่า ผีเสื้อหางติ่ง ผีเสื้อแถบขาว ผีเสื้อหนอน ผีเสื้อมะนาว ผีเสื้อเจ้าชาวเขียว สามารถบินเร็วเพื่อหลบหลีกจากการถูกจับได้ และบางชนิดจะบินช้าๆ นานๆจะกระพือปีกครั้งนึง และจะมีลาดลายบนปีกที่กลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น ผีเสื้อลายหินอ่อน ผีเสื้อร่อนลม ผีเสื้อกะลาสี ผีเสื้อจรกา และ ผีเสื้อบางชนิดจะทำตัวให้กลมกลืน มีสีสันที่คล้ายๆกับธรรมชาติรอบตัวเช่น ผีเสื้อแพนซีมยุรา 



ผีเสื้อ - ผีเสื้อ กับ ดอกไม้

on วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

        ดอกไม้ที่เหมาะกับผีเสื้อกลางคืนมักจะเป็นดอกไม้ที่มีสีอ่อน ไม่ฉูดฉาดมากจะเป็นท่อยาวเล็กๆ ไม่มีที่ให้เกาะน้ำหวานของดอกไม้จะอยู่ลึก และจะบานตอนกลางคืนส่งกลิ่นหอมฟุ้งตอนกลางคืน และดอกไม้บานตอนกลางวันจะมีสีสันสดใส ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กกว่าดอกไม้กลางคืน แต่ดอกไม้จะเป็นช่อทำให้ผีเสื้อเกาะและดูดกินน้ำหวานได้


           ผีเสื้อและแมลงชนิดต่างๆจะมองเห็นดอกไม้และสีสันแตกต่างกันออกไป จะไม่เหมือนกับสิ่งที่คนเราเห็น เพราะผีเสื้อสามารถมองเห็นแสง อัลตราไวโอเล็ต เมื่อแสงที่ฉายด้วยอัลตราไวโอเลต ไปบนดอกไม้แล้ว คนเราจะมองเห็นเป็นสีปกติ ซึ่งถ้าเป็นผีเสื้อหรือแมลงจะเห็นดอกไม้มีสีเข้มมาก ซึ่งสีพวกนี้เรียกว่า nector guide ซึ่งจะเป็นตัวนำทางให้ผีเสื้อบินไปหาน้ำหวานในดอกไม้นั่นเอง


ผีเสื้อ - อายุ ชีวิตของผีเสื้อ

        ส่วนผีเสื้อตัวเมียนั้น จะกินน้ำหวานจากดอกไม้ ส่วนใหญ่ผีเสื้อตัวผู้และผีเสื้อตัวเมียนั้นจะหาอาหารกินในบริเวณเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน แต่อาจจะมีบ้างเป็นบางครั้งที่บินห่างไกลกัน บางวันที่อากาศดีๆผีเสื้อจะออกมาบินอาบแดดเพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น และจะหากินอาหารในช่วงเวลาประมาณสายๆของวัน พอถึงเที่ยงๆ อากาศจะร้อนผีเสื้อจะบินหลบใต้ต้นไม้ใบไม้ต่างๆ เพื่อพักร้อน และอาจจะออกหากินอีกทีในช่วงเวลาเยนๆ 4-5โมง แต่ถ้าเกิดฝนตก ผีเสื้อจะบินหลบใต้ต้นไม้ และจะออกหากินต่อเมื่อฝนหยุดตก แต่มีผีเสื้อบางชนิดที่บินออกหากินตอนเช้ามืด พลบค่ำ กลางคืน ส่วนผีเสื้อที่หากินตอนกลางวันจะพักนิ่งๆอยู่แถวๆต้นไม้ ดอกไม้ ส่วนผีเสื้อกลางคืนก็จะบินออกหากินตามปกติ



ผีเสื้อ - ลักษณะทั่วไปของผีเสื้อ (ต่อ)

on วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

         ลักษณะทั่วไปของผีเสื้อ (ต่อ)
  1. ตารวม ( Compound eye) ตาของผีเสื้อนั้นประกอบด้วยตาเล็กๆ จำนวนมาก ทำหน้าที่รับภาพเคลื่อนไหว มีประสิทธิภาพในการของเห็นสูง
  2. ตาเดียว ( Simple eye) ไว้รับแสง เพื่อให้รู้ว่า ตอนนี้มืด หรือ สว่าง
  3. หนวด - หนวดของผีเสื้อ ทำหน้าที่ดมกลิ่น
  4. ท่องวง ( Provoscis) หรือ ปากของผีเสื้อ ใช้สำหรับกินอาหาร เช่น น้ำหวาน เวลาที่ผีเสื้อไม่ได้กินน้ำหวาน หรืออาหาร ท่อนี้จะม้วนเก็บเป็นวงกลม
  5. ขา - ขาของผีเสื้อแบ่งเป็นข้อๆ 4 ส่วน คือ ข้อต่อโคนขา โคนขา ต้นขา ตีน ซึ่ง ตีนแบ่งได้อีก 5 ข้อ มีเล็ก 2 คู่ 
  6. ส่วนอก - ส่วนอกของผีเสื้อ มี 3 ปล้องเรียงต่อกัน มที่รอยต่อไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากมีเกล็ดสีปิดอยู่ ซึ่ง 1 ปล้องจะมีขา 2 ข้าง ปีกของผีเสื้อส่วนหน้าจะติดกับปล้องที่2 ปีกหลังจะอยู่ที่ปล้องที่ 3
  7. อวัยวะเพศ - มีลักษณะแตกต่างออกไปตามสายพัธุ์ของผีเสื้อซึ่งธรรมชาติของผีเสื้อชนิดเดียวกันถึงจะผสมพันธุ์กันได้ เน้น ต้องชนิดเดียวกันเท่านั้น จะไม่มีการผสมข้ามพันธุ์ ถ้าจะแบ่งสายพันธุ์ต้องดูที่อวัยวะเพศของผีเสื้อตัวผู้ถึงจะแบ่งได้ ว่าเป็นผีเสื้อสายพันธุ์ไหน


   

ผีเสื้อ - การผสมพันธุ์ของผีเสื้อ (ต่อ)

on วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

                หลังจากที่ผีเสื้อตัวผู้ได้พบรักกับผีเสื้อตัวเมียแล้วก็จะเริ่มปฏิบัติการผสมพันธุ์ด้วยการบินเข้าหา และจะทำการกระพือปีกเพื่อปล่อยสารเคมีในตัว ซึ่งสารนั้นคือ ฟีโรโมน ให้กระจายออกมาเพื่อเป็นการบ่งบอกกับผีเสื้อตัวเมียว่า เป็นผีเสื้อชนิดเดียวกัน จากนั้นมันจะพยายามทำให้ตัวเมียลงพื้น เพื่อที่จะให้ผีเสื้อตัวผู้บินคร่อมได้ง่ายและทำการผสมพันธุ์ในที่สุด กลิ่นที่ปล่อยออกมาจะทำให้ผีเสื้อตัวเมียยอมรับในการผสมพันธุ์ของผีเสื้อตัวผู้ หากผีเสื้อตัวเมียไม่ยอม หรือไม่พอใจก็จะบินหนีไปในที่สุด มีผีเสื้อบางชนิดที่มีต่อมฟีโรโมนอยู่ที่ปีกคู่หลัง บางชนิดก็จะอยู่ในช่วงท้อง การผสมพันธุ์ของผีเสื้อใช้เวลานานพอสมควร กว่าที่ผีเสื้อตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าไปในผีเสื้อตัวเมียมากพอ ระหว่างที่ทำการผสมพันธุ์ของผีเสื้อนั้น ผีเสื้อตัวผู้และผีเสื้อตัวเมียจะนิ่ง และช่วงเวลานี้อาจจะถูกสัตว์อื่นมาคาบไปรับประทานนั่นเอง



ผีเสื้อ - การผสมพันธุ์ของผีเสื้อ

       ผีเสื้อเพศผู้จะหาคู่ด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น บางชนิดจะรอให้ผีเสื้อตัวเมียบินเข้ามาหาภายในพื้นที่ของผีเสื้อตัวผู้ บางชนิดจะบินออกไปหาผีเสื้อตัวเมียเองเลย และบางชนิดจะกำหนดเขตของตัวเอง แล้วก็จะบินหาผีเสื้อตัวเมียภายในอณาเขตที่ตนเองกำหนดไว้ แล้วจะไม่ยอมให้ผีเสื้อตัวผู้ตัวอื่นเข้ามาภายในเขต อาจจะมีบางครั้งที่ผีเสื้อตัวผู้ที่บินเข้ามาในเขตแล้วไม่ยอมถอย ก็จะเกิดการต่อสู้ระหว่างผีเสื้อตัวผู้ทั้ง 2 ตัวจนตายไปตัวหนึ่ง เช่นผีเสื้อในวงศ์ขาหน้าพู่ จะห่วงถิ่นมากมันจะไล่แมลงทุกชนิดที่บินเข้ามา แม้แต่แมลงปอ หรือนกที่บินเข้ามาในอณาเขต ถึงแม้ว่ามันจะต้องตายก็ตาม



ผีเสื้อ - วงจรชีวิตของผีเสื้อ เป็นอย่างไร

on วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

              ผีเสื้อนั้นจะมีการเจริญเติบโตแบบ โฮโลเมตาโบลัส ( Holometabolous) คือจะเป็นแบบการเจริญเติบโตที่มีการเปลี่ยนรุปร่างแบบ สมบูรณ์ นั้นคือเปลี่ยนร่างเลยไม่มีเค้าเดิม แบ่งเป็น 4 ระยะด้วยกันก็คือ ไข่ > หนอน > ดักแด้ > และผีเสื้อ (เต็มวัย) ข้อดีของ โฮโลเมตาโบลัส ( Holometabolous) คือ แต่ละช่วงของชีวิตต้องการอาหารที่แตกต่างกัน และต้องอาศัยที่แตกต่างกัน มีศัตรูแตกต่างกัน ทำให้ในแต่ละการเจริญเติบโตมีอัตรายน้อย



ผีเสื้อ - วิธีการจำแนกผีสื้อกลางวัน-ผีเสื้อกลางคืน



การสังเกต
ผีเสื้อกลางวัน
ผีเสื้อกลางคืน
หนวด
ส่วนปลายจะพองโต เป็นรูปกระบอง และเวลาเกาะใบไม้จะชูหนวดขึ้นเป็นรูปตัววี Vมีหลายแบบ รูปเส้นด้าย ฟันหวี พู่ขนนก ฯลฯ เวลาเกาะ จะซ่อนหนวดไว้ใต้ปีก
ลำตัว
 จะยาวเรียว บริเวณลำตัวจะไม่มีขนปกคลุม ลำตัวจะอ้วน กลม สั้นกว่าผีเสื้อกลางวัน จะมีขนปกคลุมหนา
การเกาะ
เวลาเกาะจะหุบปีกขึ้นด้านบน ปีกจะชิดกัน บางชนิดจะกางปีกเป็นแนวราบเวลาเกาะ จะกางปีกราบ แต่จะมีบางชนิดจะหุบปีกขึ้น 
การเชื่อมติดของปีก
จะเป็นแบบการซ้อนกันของปีก ซึ่งปีกหน้าจะอยู่ข้างบน ส่วนการกระพือปีกจะกระพือพร้อมๆกันจะมีขนแข็งๆสอดเข้าไปใต้ปีกคู่หน้าเพื่อเกี่ยวให้ติดกัน
การออกหากิน
จะออกหากินในเวลากลางวัน จะออกหากินในเวลากลางคืน