ผีเสื้อ - ลักษณะทั่วไปของผีเสื้อ

on วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

       ผีเสื้อนั้น ที่ส่วนลำตัวจะไม่มีโครงกระดูกเหมือนกับ แมลงชนิดอื่นๆ แต่จะมีเปลือกแข็งๆอยู่ข้างนอกที่เป็นสาร ไคติน จะห่อหุ้มร่างกาย ส่วนภายในเปลือกแข็งนั้นจะเป็นที่ยึดกล้ามเนื้อ ใช้ในการเคลื่อนไหว เคลื่อนที่ของผีเสื้อ ส่วนของลำตัวจแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัว อก และ ท้อง ซึ่งทั้ง สามส่วนของผีเสื้อนั้นจะประกอบด้วย วงแหวนหลายๆวงเรียงต่อๆกัน ซึ่งเชื่อมด้วยเยื่อบางๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวที่สะดวกขึ้น วงแหวนที่เชื่อมต่อกันจะมีทั้งหมด 14 ปล้องด้วยกัน จะอยู่ที่ส่วนหัว 1 ปล้อง ส่วนอก 3 ปล้อง ส่วนท้องเยอะสุดมี 10 ปล้อง

         
       ส่วนปีก ผีเสื้อ จะมีปีก 2 คู่ ประกอบด้วย ปีกหน้าและปีกหลัง ซึ่ง ปีกหน้าจะซ้อนทับกับปีกหลังบางส่วน ซึ่งปีกของผีเสื้อ จะเป็นเยื่อบางๆ โครงปีกเกิดจากเส้นปีก ซึ่งเส้นปีกของผีเสื้อเปรียบได้กับกระดูกของสัตว์ชนิดอื่นๆ และผีเสื้อส่วนใหญ่จะมีเส้นปีกในปีกคู่หน้าอยู่ 12 เส้น ส่วนปีกคู่หลังมี 9 เส้น การจัดเรียงของเส้นปีกของผีเสื้อมีความสำคัญในการจำแนกวงศ์ ชนิด สกุลของผีเสื้อ

ผีเสื้อ - ผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน

on วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554

            ผีเสื้อแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ผีเสื้อกลางวัน และ ผีเสื้อกลางคืน หากดูภายนอกจะแยกไม่ออกว่า ไหนผีเสื้อกลางวัน ไหนผีเสื้อกลางคืน ซึ่ง มันไม่แตกต่างกันเลย แต่ว่า อนุกรมวิธาน บอกว่า ผีเสื้อกลางวันและผีเสื้อกลางคืน อยู่ในอันดับย่อย ต่างกัน คือ อันดับย่อยผีเสื้อกลางวัน ( Butterfly ) และ อันดับย่อยผีเสื้อกลางคืน ( Moth) หรือที่เรียกกันว่า แมลงมอท ในจำนวนผีเสื้อนับแสนบนโลกใบนี้ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นผีเสื้อกลางคืน หรือแมลงมอท จะมีอยู่ 10%ที่เป็นผีเสื้อกลางวัน แต่เพราะสีที่สวยงาม จะทำให้พบเห็นได้ง่ายในเวลากลางวัน ผีเสื้อกลางวันจึงเป็นที่รู้จักมากกว่าผีเสื้อกลางคืน


ผีเสื้อกลางคืน



ผีเสื้อกลางวัน


ผีเสื้อ - มาดูผีเสื้อยักษ์กัน

        
        นักวิทยาศาสต์พบว่า แมลงในยุคแรกๆนั้น จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าแมลงในยุคปัจจุบันหลายเท่า เช่น แมลงปอ ที่มีปีกกว้าง ถึง 65 cm. และยังคาดเดากันอีกว่า ผีเสื้อในยุคแรกๆนั้นอาจจะไม่มีขนาดใหญ่ขนาดนั้น แต่มีขนาดที่ใกล้เคียงกับแมลงปอ หรือ ขนาดของผีเสื้อในปัจจุบัน ผีเสื้อปีกนก ( Bordwing) หรือผีเสื้อยักษ์(Attacus atlas) ที่อาศัยอยู่แถบเอเชีย 
       หลักฐานที่สันบสนุนหลักการนี้คือ ร่องรอยที่ค้นพบผีเสื้อประทับอยู่ที่แผ่นหิน ที่อายุราว 30ล้านปีในสมัย โอลิโกซีน๖Oligocene) ที่อยู่ในยุคสมัย Tersiary แสดงให้เห็นโครงสร้างปีกที่มีขนาดใกล้เคียงกับผีเสื้อยักษ์ในปัจจุบันมาก นอกจากนี้ ยังค้นพบว่าผีเสื้อในยุคแรกๆ อาจจะมีสีสันที่ไม่โดดเด่นนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นีสีน้ำตาลขาว หรือสีน้ำตาลล้วน


ผีเสื้อ - วิวัฒนาการของผีเสื้อเป็นมาอย่างไร??

on วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

         แมลงที่คนพบเห็นกัน ณ ปัจจุบัน ส่วนมากจะมีการวิวัฒนาการมาตั้งแต่ยุคโบราณ คาร์บอนนิเฟอร์รัส ซึ่งยุคนี้เกิดประมาณ 300ล้านปีมาแล้ว จากซากดึกดำบรรพ์ของยุคก่อน ทำให้พบว่าผีเสื้อ อาจจะ มีวิวัฒนาการมาจาก บรรพบุรุษของแมลงในอันดับที่ มีคอปเทอรา(Mecoptera) ซึ่งกำเนิดในยุค เพอร์เมียน(Permian) ตอนต้น หรือประมาณ 250ล้านปีมาแล้ว แต่กว่าจะวิวัฒนาการมาเป็นผีเสื้อได้ก็ต้องใช้เวลาอีกหลายล้านปี เพราะซากดึกดำบรรพ์ของผีเสื้อกลางคืนที่เก่าที่สุดพบเมื่อ 100-400ล้านปีมาแล้ว ส่วนซากของผีเสื้อกลางวันพบแค่ 40ล้านปีเท่านั้น
        
       ถ้าลองดูความสำพันธ์ของพืชกับผีเสื้อที่มีดอกในปัจจุบัน ก็มีทางเป็นไปได้ว่าทั้งพืชและผีเสื้อมีวิวัฒนาการมาพร้อมๆกันเพราะผีเสื้อทุกชนิดมีปากเป็นท่อที่ใช้ดูดน้ำหวานในดอกไม้ ดอกไม้เก่าแก่ที่พบว่าอายุมากที่สุดมีอายุประมาณ 90ล้านปีมาแล้ว เมื่อดูความหลากหลายของพืชที่มีอยู่ในยุคนั้นแล้ว พืชดอกน่าจะเกิดขึ้นก่อนเวลาดังกล่าวประมาณ 150-200 ปีก่อน เพราะฉะนั้น ถ้าผีเสื้อกับพืชมีวิวัฒนาการมาพร้อมกันแล้ว ผีเสื้อน่าจะเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามก็ยังสรุปให้ชัดเจนไม่ได้ว่าผีเส้อถือกำเนิดขึ้นมาเมื่อไหร่ จนกว่าจะพบหลักฐานในอดีตมากพอที่จะสรุปได้


ผีเสื้อ -ผีเสื้อกำเนิดมาได้อย่างไร??

สัตว์โลกชนิดต่างๆ พันธุ์ต่างๆในโลกใบนี้มีสัตว์จำพวกที่เป็นแมลงมากถึง 3/4 ของสัตว์ทั้งหมด เพราะแมลงมีวิวัฒนาการที่ยาวนาน จึงทำให้มีลักษณะที่แตกต่างกันหลากหลาย สายพันธุ์หลายชนิดมาก ซึ่งสามารถดูได้จากซากดึกดำบรรพ์ของบรรพบุรุษพวกนี้ ที่ค้นพบอยู่ในปัจจุบัน แต่ว่าแมลงของในกลุ่มผีเสื้อที่มีปีกบาง จึงไม่สามารถบอกที่มาของมันได้



ผีเสื้อ - เกล็ดผีเสื้อ คืออะไร?


เกล็ดผีเสื้อ จะมี ลักษณะอยู่ 2 แบบ ได้แค่ 
1.เป็น เกล็ดผีเสื้อ ที่ไม่มีสี แต่เป็นลักษณะนูน เมื่อมีแสงมากระทบแล้วจะเกิด สี ที่เป็นสีรุ้ง 
2.เป็น เกล็ดผีเสื้อ ที่มีสีอยู่ภายในเม็ดสี เป็นเม็ดสีที่เกิดจากสารเคมีแปรรูปที่เกิดจาก สารอาหารที่ หนอนผีเสื้อกินเข้าไป และ ที่ ผีเสื้อ สร้า้งขึ้นมาเอง เกล็ดผีเสื้อ เมื่อมองเกล็ดด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียงแค่สีฝุ่น ถ้าเอานิ้วไปจิ้ม หรือแตะดู สีจะติดที่นิ้ว

สารที่ทำให้เกิด เกล็ดผีเสื้อ มีอยู่ 3 ชนิด
  1. เทอรีน(Pterrin) เป็นกรดยูริกแปรรูป ในตระูกูลผีเสื้อขาหน้าพู่ จะมีสีส้มเหลือง , สีแดงเหลือง ,สีแดง เมื่อโดนออกซิเจน จะทำให้สีจางลง
  2. ฟลาโวน (Flavone) เป็นสารที่เกิดจากหนอนผีเสื้อกินเข้าไป ทำให้เกิดสีขาว จนเป็นสีเหลือง พบในตระกูลผีเสื้อสีตาล และตระกูลผีเสื้อบินเร็ว
  3. เมลานิน (melanin) จะมีสีดำแบบเดียวกับสัตว์ทั่วไปบนโลก ส่วนสีเขียว สีฟ้า สีม่วง เกิดจาก เกล็ดผีเสื้อ ที่ไม่มีสี เมื่อโดนแสงส่อง จะทำให้ปีกสะท้อนออกมาเป็นสี

ผีเสื้อ - ทำไมเราจึงเรียกว่าผีเสื้อ



เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่าว่าทำไมถึงเรียก ตัวที่มีปีก มีสีสวยๆว่า ผีเสื้อ 


ได้มีการสันนิษฐานกัน เพราะว่าการที่ ผีเสื้อ บินไปบินมา คนโบราณจึงคิดว่า มีผีเข้าไปสิงอยู่ในตัวของมัน บวกกับ ปีกของ ผีเสื้อ มีสีสันฉูดฉาด สวยงามเหมือนกับเสื้อผ้า ที่มีสีสันเหมือนกัน แม้กระทั่งตอนนี้ชาวชนบทก็ยังเรียก ผีเสื้อ แมลงผี เพราะคนโบราณสันนิฐานว่า มาจาก ผีเชื้อ เนื่องจากคติทางตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน เชื่อกันว่า การที่มี ผีเสื้อ หรือผีเชื้อบินมาเป็นกลุ่มจำนวนมากๆ จะทำให้เกิดโรคระบาด ทำให้คนสมัยก่อนเข้าใจผิดว่า ผีเสื้อ เป็นตัวนำโรคเข้ามาสู่หมู่บ้าน แต่สำหรับทางภาคเหนือของประเทศ จะเรียก ผีเสื้อ ว่าแมงกะป้อ หรือแมงกะเบี้ย ชื่อเรียกในภาษาอื่นๆก็มี อย่างประเทศญี่ปุ่นเรียกว่า Jojo(โจโจ้) ภาษาอังกฤษ เรียก Butterfly แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความเชื่อๆต่างๆก็ไม่ส่งผลถึงคนสมัยปัจจุบัน เพราะคนปัจจุบันยอมรับว่า ผีเสื้อ คือแมลงที่ให้ความสวยงามแก่ธรรมชาติ